องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง






สภาพทั่วไป




 

สภาพทั่วไป และ ข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

1. สภาพทั่วไปขององค์กาบริหารส่วนตำบล

ลักษณะที่ตั้ง / อาณาเขต / และเขตการปกครอง


        องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบล ขึ้นเป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง" เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ครอบคลุมพื้นที่ 12 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด นครราชสีมา ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (นครราชสีมา - หนองคาย) เป็นระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร โดยรถยนต์ หรือประมาณ 85 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ ตั้งอยู่ในระวางแผนที่อำเภอบัวใหญ่ ระวาง 5440 II เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดนครราชสีมากับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ

ลักษณะที่ตั้ง

        ตำบลห้วยยางอยู่ห่างจากอำเภอบัวใหญ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา 120 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ หรือประมาณ 85 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ ตั้งอยู่ในระวางแผนที่อำเภอบัวใหญ่ ระวาง 5440 II โดยอยู่ในพิกัด ดังนี้
        จากทิศเหนือบริเวณพิกัด 48PTC105338 ไปตามทางสาธารณประโยชน์ ทางทิศตะวันออก ถึง ทางหลวงแผ่นดินสายตะโก - โคกสี บริเวณพิกัด 48PTTC114335 ข้ามทางหลวงแผ่นดินสายตะโก - โคกสี ไปตามทางสาธารณประโยชน์ ถึง ลำห้วยใหญ่ บริเวณพิกัด 48PTTC129324 ไปทางทิศตะวันออก จนถึงพิกัด 48PTC218254 จากพิกัด 48PTC218254 ไปทางทิศตะวันตกตามลำห้วยยาง ถึง พิกัด 48PTC201254 จากพิกัด 48PTC201254 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามลำห้วยยาง จนถึงทางหลวงแผ่นดิน สายตะโก - โคกสี บริเวณพิกัด 48PTC064286 ไปทางทิศเหนือตามหลวงแผ่นดินสายตะโก - โคกสี ถึงบริเวณพิกัด 48PTC099321 แล้วขึ้นไปทางทิศเหนือตามทางสาธารณประโยชน์ จนบรรจบกับบริเวณพิกัด 48PTC105338

อาณาเขต

        เนื้อที่โดยประมาณทั้งตำบล 30,443 ไร่ หรือ 59.86 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองบัวสะอาด ตำบลหนองแจ้งใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ติดต่อกับ ตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา


ภูมิประเทศ

        ตำบลห้วยยาง มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบตามลักษณะที่ราบสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 140-250 เมตร โดยเป็นที่ราบเอียงไม่สม่ำเสมอ มีลำห้วยใหญ่ไหลผ่านทางตอนบนและตะวันออกของตำบล และมีลำห้วยคร้อ ลำห้วยยางไหลผ่านทางตอนใต้ของตำบล มีหนองน้ำทั้งหนองน้ำธรรมชาติ และหนองน้ำที่ขุดขึ้นมาใหม่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ยังมีปริมาณน้ำตามลำห้วย และหนองน้ำ อยู่ในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร

 

จำนวนหมู่บ้าน

        ตำบลห้วยยางมีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน และอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทุกหมู่บ้าน

หมู่ที่
บ้าน
ชื่อผู้นำหมู่บ้าน
ครัวเรือน
(หลัง)
เพศชาย
(คน)
เพศหญิง
(คน)
รวม
1
ด่านช้าง  
167
355
341
696
2
ดอนกระชาย  
108
217
220
437
3
ห้วยยาง  
186
426
432
858
4
ขามเตี้ย  
198
465
480
945
5
ห้วยคร้อ  
77
176
166
342
6
ดงบัง  
392
372
372
764
7
เก่างิ้ว  
145
281
306
587
8
บุไทย  
101
261
216
477
9
หนองหญ้าปล้อง  
182
429
441
870
10
สระไผ่  
49
105
111
216
11
ดงสว่าง  
173
415
405
820
12
หนองไผ่งาม
 
142
302
332
634
รวมทั้งสิ้น
12 หมู่บ้าน
1,722
3,824
3,822
7,646



2. สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพ


        ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลห้วยยาง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก คือ ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ อาชีพอื่นๆ จะมีการประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป โดยจะเป็นแรงงานรับจ้างในช่วงที่ว่างจากงานภาคเกษตรกรรมแล้ว โดยส่วนมากแล้วจะมีการประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ เช่น เป็นเกษตรกรและค้าขาย หรือ เกษตรกรและแรงงานรับจ้าง
        ในด้านแรงงานของภาคเกษตรกรรม จะใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือน โดยมีการจ้างงานในช่วงดำนาและเก็บเกี่ยวผลผลิต
        ส่วนนอกภาคเกษตรกรรม พบว่า ประชากรจะรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขต อำเภอเมือง นครราชสีมา อำเภอปากช่อง อำเภอปักธงชัย และมีบางส่วนเดินทางไปทำงานในต่างจังหวัด หรือ กรุงเทพฯ มีบางส่วนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จึงมีรายได้ที่ไม่แน่นอน

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง

- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม - แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าช - แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
- ร้านค้า 50 แห่ง



3. สภาพทางสังคม

การศึกษา

- โรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 1,3,4,6,7,9
- โรงเรียนขยายโอกาส 2 แห่ง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 1,4
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง  
- โรงเรียน / สถาบันชั้นสูง - แห่ง  
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 6 แห่ง  
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 4,6



สถาบันและองค์กรทางศาสนา

- วัด / สำนักสงฆ์ 8 แห่ง (หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9)
- มัสยิด - แห่ง  
- ศาลเจ้า - แห่ง  
- ศริสจักร (โบสถ์) 1 แห่ง  



การสาธารณสุข

- โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด - เตียง - แห่ง  
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 1 แห่ง  
- สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง  
- คลินิกแพทย์ - แห่ง  
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง  
- อัตราการมีและใช้ส้วมลาดน้ำร้อยละ 100%      
- จำนวน อสม. 156 คน  

 

4. การบริการพื้นฐาน

        การคมนาคม การติดต่อระหว่างอำเภอและตำบลใกล้เคียง ใช้เส้นทางประทาย - ชัยภูมิ และถนนลาดยาง รพช. ส่วนถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน ตำบล ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล กรมโยธาธิการ อบจ.นม. และโครงการพัฒนาจังหวัดตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ถนนลาดยาง 3 สาย
- ถนนลูกรัง 14 สาย
- ถนน คสล. 15 สาย

การโทรคมนาคม

- โทรศัพท์ (สาธารณะ) 13 แห่ง
- หอกระจายข่าง / เสียงตามสาย 12 แห่ง

การไฟฟ้า

หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงทั้งหมด 12 หมู่บ้าน (เหลือไฟฟ้าขยายเขตที่ยังไม่ครบบางหมู่)

แหล่งน้ำธรรมชาติ

- ลำน้ำ, ลำห้วย 11 สาย
- บึง, หนองและอื่นๆ 13 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- ฝาย 13 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 3 แห่ง
- บ่อโยก 21 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 12 แห่ง

 

5. ข้อมูลอื่นๆ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
  -

มวลชนจัดตั้ง

- ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 2 รุ่น 170 คน
- ไทยอาสาป้องกันชาติ จำนวน 1 รุ่น 50 คน
- อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน - รุ่น 128 คน
- อาสาสมัครรักษาความสงบหมู่บ้าน จำนวน - รุ่น 20 คน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 2 รุ่น 180 คน
- อาสาประสานพลังแผ่นดินฯ จำนวน 1 รุ่น 275 คน
- อาสาสมัครตำรวจบ้าน จำนวน 1 รุ่น 36 คน

 

การรวมกลุ่มของประชาชน

- กลุ่มอาชีพ 7 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 10 กลุ่ม
- กลุ่มอื่นๆ 2 กลุ่ม