องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง






นโยบายการบริหารงาน




                                                                                                              นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น

1.นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

           1.1  ด้านสาธารณสุข

                 1)  ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อ

                 2)  ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ชมรมผู้สูงอายุตำบล เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสในสังคม

                 3)  ส่งเสริมการป้องกันโรคให้การรักษาพยาบาลและบริการความรู้สาธารณสุขมูลฐานแก่ประชาชน เพื่อประชาชนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง

         1.2  ด้านการศึกษา

                 1)  สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนแก่สถานศึกษาในเขตรับผิดชอบ

                 2)  สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ฐานะยากจน

                 3)  ส่งเสริมสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริมนมแก่นักเรียนอย่างทั่วถึง

                 4)  ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

                 5)  ส่งเสริมสนับสนุนจัดการศึกษา ศาสนา ปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

                 6)  ส่งเสริมพัฒนาความรู้ให้แก่ครูผู้ดูแลเด็กเล็กของศูนย์ต่าง ๆ

         1.3  ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม

                 1)  เป้าหมายการพัฒนา  คือ  การทำให้คนมีความสุข  ซึ่งประกอบด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรงครอบครัวที่อบอุ่น  มีสภาพแวดล้อมที่ดี  มีสังคมที่สันติและเอื้ออาทรต่อกัน และสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต   โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม และส่งเสริมบทบาทของคณะสงฆ์และกิจกรรมของครอบครัว ที่ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

                 2)  ให้การสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสในสังคม และผู้ประสบภัยธรรมชาติโดยยึดระเบียบตามกฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้

                 3)  ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต  เด็ก  และเยาวชน  และส่งเสริมให้มีสนามกีฬาประจำหมู่บ้านหรือตำบลพร้อมอุปกรณ์

                 4)  สนับสนุนและส่งเสริมกีฬาทุกประเภท  ทุกระดับทั้งเด็กนักเรียน  เยาวชน  ประชาชน  โดยการแข่งขันระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรอื่น

                 5)  ส่งเสริมสวัสดิการให้กลุ่มสตรี  อสม.  อบต.  และองค์กรอื่น ๆ ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน  โดยยึดระเบียบตามกฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้

                 6)  ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีงามของศาสนาพุทธ    

                 7)  ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ  ของรัฐบาลในโครงการที่ใช้งบประมาณสูง

       2.  หลักความโปร่งใส

  1. ยึดหลักการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  โปร่งใส  ยุติธรรม  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล  ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  โดยยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง  จัดงบประมาณด้วยความเป็นธรรม  และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของ    พี่น้องประชาชนตำบลห้วยยาง
  2. จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

        3. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน

           3.1  ด้านคมนาคม

                 1)  จัดให้มีถนนสำหรับใช้ในการสัญจร ไป – มา  ในระหว่างหมู่บ้านหรือตำบลที่มีมาตรฐาน  เช่น  ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  ถนนลาดยาง

                 2)  จัดให้มีการก่อสร้างหรือซ่อมแซมถนนลูกรัง  เพื่อใช้เป็นเส้นนำผลิตผลทางการเกษตรออกจำหน่ายได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

                 3)  จัดให้มีการก่อสร้างและปรับปรุงถนนภายในหมู่บ้าน  ระหว่างหมู่บ้าน  หรือตำบลให้มีสภาพเหมาะแก่การสัญจรไปมาได้

                 4)  จัดให้มีการก่อสร้างหรือปรับปรุงระบบระบายน้ำในหมู่บ้านให้มีสภาพมั่นคงและแข็งแรงสามารถใช้ประโยชน์ได้

                 5)  จัดให้มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมขังในหมู่บ้านหรือตำบล

           3.2  ด้านแหล่งน้ำ

                 1)  ก่อสร้างและขยายเขตประปาในหมู่บ้านและปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาในหมู่บ้านที่มีปัญหาให้มีสภาพดียิ่งขึ้น  และตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาให้เหมาะสำหรับการใช้อุปโภค – บริโภคอย่างสม่ำเสมอ

                 2)  ส่งเสริมบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค  บริโภคตามรรมชาติ  เช่น  คลอง  หนอง  บึง  และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

                 3)  ขุดลอกคลอง  หนอง  บึง  เพื่อการประมง  และการเกษตร

           3.3  ด้านไฟฟ้าและแสงสว่าง

                 1)  ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าสำหรับประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง

                 2)  ดำเนินการขยายเขต  หรือซ่อมแซมไฟฟ้าทางสาธารณะ  เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                 3)  ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม  เพื่อมุ่งพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่มีความจำเป็นต้องได้รับบริการซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น

       4.  นโยบายด้านเศรษฐกิจ

           ภาคเกษตรกรรม

                 1)  สนับสนุนการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด  และศักยภาพของประชาชนในตำบล

                 2)  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อการเพิ่มผลผลิตและลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน และสามารถเพิ่มรายได้

                 3)  สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน  และปัจจัยการผลิต  แก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนซึ่งแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือตามระเบียบกำหนดให้อำนาจไว้

                 4)  สนับสนุนและพัฒนาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  เพื่อสนับสนุนนโยบาย  หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์

                 5)  สนับสนุนและพัฒนาและส่งเสริมระบบการตลาดกลางในชุมชน

 

 

 

         ภาคอุตสาหกรรม

                 1)  ส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือนทุกชุมชน  หมู่บ้าน  ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของตำบลให้ได้รับการพัฒนาและขยายกิจการได้มากขึ้น  เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้มากขึ้นด้วย  โดยการรวมกลุ่มบริหารจัดการตามความต้องการของกลุ่ม

                 2)  ร่วมมือกับกลุ่มแม่บ้านหรือกลุ่มอาชีพ  เพื่อหาลู่ทางในการพัฒนาอาชีพ  เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนอาชีพกันในแต่ละหมู่บ้าน โดยยึดหลักเครือข่ายอาชีพ

                 3)  ส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีศักยภาพ  รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพกลุ่มอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ  กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมครัวเรือน  ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าผลผลิต  และจัดหาตลาดรองรับ  ตามระเบียบกำหนดให้อำนาจไว้

                 4)  ส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่นควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  ในการเพิ่มมูลค่าและให้ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อการพัฒนาอาชีพ  รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวทฤษฎีใหม่  เกษตรอินทรีย์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                 5)  ส่งเสริมโครงการพัฒนาศึกษาดูงานของบุคลากรและกลุ่มอาชีพ

        5.  นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           1)  แก้ไขปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย  รณรงค์  ให้มีการจัดการขยะมูลฝอย  โดยการคัดแยกและกำจัดขยะอย่างถูกวิธี  และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก  เยาวชน  และประชาชน  สร้างคุณค่าจากขยะ  และการทิ้งขยะให้ถูกที่

           2)  ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน  โดยการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม

           3)  จัดให้มีการปรับปรุงแหล่งน้ำ  แหล่งทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุด  บำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรที่เสื่อมโทรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

           4)  จัดให้มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยภายในครัวเรือน  โดยนำวิธีการใช้ประโยชน์จากขยะเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน  เพื่อลดประมาณขยะ

           5)  ปรับภูมิทัศน์บริเวณถนน  และลำคลองที่สำคัญให้ดูสวยงาม

       6.  ด้านการเมืองและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

           1)  รณรงค์ให้ประชาชน  เชิดชูสถาบัน  ชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์

           2)  ส่งเสริมการรักษาความสงบเรียบร้อย  การป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  โดยการเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของ  อปพร.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  และเจ้าหน้าที่ตำรวจ

           3)  ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและตำบล  และประสานความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

           4)  ปรับปรุงพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมต่อประชาชน  เพื่อสามารถนำมาบริการประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

           5)  เสริมสร้างบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

           6)  ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา  สนับสนุนการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย  เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนกับองค์การบริหารส่วนตำบล

           7)  ส่งเสริมให้หน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วม  ในการพัฒนาแบบบูรณาการ

           8)  ส่งเสริมบทบาทให้กับ  อปพร.  ในการทบทวนการปฏิบัติหน้าที่  การศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาสาธารณภัย

       7.  นโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน

           องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  แสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจทำอะไร อย่างไร รวมทั้งการตรวจสอบและการประเมิน ผลงานขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนา  การจัดซื้อ – จัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล  การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล การเสนอข้อบัญญัติต่างๆ

       8.  นโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

           1)  สนับสนุนและดำเนินการเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  โดยสนับสนุนให้ใช้หลักการป้องกันนำหน้าการปราบปราม  ผู้เสพต้องได้รับการรักษา  ผู้ค้าต้องได้รับการลงโทษโดยเด็ดขาด

           2)  จะเข้มงวดกับข้าราชการไม่ว่าจะเป็นข้าราชการการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ ให้รางวัลและการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

           3)  การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพยาเสพติด  โดยให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับ การบำบัด  และฟื้นฟูสภาพได้ทันที  โดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย  เพื่อให้ผู้เสพสามารถกลับเข้าสู่สังคม ได้อย่างปกติสุข

       9.  นโยบายด้านการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง

           1)  เพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพโดยการจัดฝึกอบรม  ทัศนศึกษาดูงาน  เพื่อได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  สามารถนำสิ่งที่พบเห็นมาปรับปรุงการทำงานได้  ตลอดจนการจัดการประชุมประจำเดือนของพนักงานและลูกจ้างของ อบต. เพื่อสร้างความเข้าใจในการบริหารงานให้บุคลากรของ อบต.ได้รับทราบ

           2)  พัฒนาการเงิน การคลัง  เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณต่าง ๆ  ที่ดำเนินการถูกต้อง และเรียบร้อย ตามระเบียบของ อบต.

           3)  พัฒนาส่วนโยธาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและตรวจสอบได้

 

นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น

1.นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต

           1.1  ด้านสาธารณสุข

                 1)  ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อ

                 2)  ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ชมรมผู้สูงอายุตำบล เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสในสังคม

                 3)  ส่งเสริมการป้องกันโรคให้การรักษาพยาบาลและบริการความรู้สาธารณสุขมูลฐานแก่ประชาชน เพื่อประชาชนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง

         1.2  ด้านการศึกษา

                 1)  สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนแก่สถานศึกษาในเขตรับผิดชอบ

                 2)  สนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ฐานะยากจน

                 3)  ส่งเสริมสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริมนมแก่นักเรียนอย่างทั่วถึง

                 4)  ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน

                 5)  ส่งเสริมสนับสนุนจัดการศึกษา ศาสนา ปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

                 6)  ส่งเสริมพัฒนาความรู้ให้แก่ครูผู้ดูแลเด็กเล็กของศูนย์ต่าง ๆ

         1.3  ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม

                 1)  เป้าหมายการพัฒนา  คือ  การทำให้คนมีความสุข  ซึ่งประกอบด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรงครอบครัวที่อบอุ่น  มีสภาพแวดล้อมที่ดี  มีสังคมที่สันติและเอื้ออาทรต่อกัน และสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต   โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม และส่งเสริมบทบาทของคณะสงฆ์และกิจกรรมของครอบครัว ที่ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

                 2)  ให้การสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสในสังคม และผู้ประสบภัยธรรมชาติโดยยึดระเบียบตามกฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้

                 3)  ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต  เด็ก  และเยาวชน  และส่งเสริมให้มีสนามกีฬาประจำหมู่บ้านหรือตำบลพร้อมอุปกรณ์

                 4)  สนับสนุนและส่งเสริมกีฬาทุกประเภท  ทุกระดับทั้งเด็กนักเรียน  เยาวชน  ประชาชน  โดยการแข่งขันระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรอื่น

                 5)  ส่งเสริมสวัสดิการให้กลุ่มสตรี  อสม.  อบต.  และองค์กรอื่น ๆ ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน  โดยยึดระเบียบตามกฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้

                 6)  ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีงามของศาสนาพุทธ    

                 7)  ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ  ของรัฐบาลในโครงการที่ใช้งบประมาณสูง

       2.  หลักความโปร่งใส

  1. ยึดหลักการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  โปร่งใส  ยุติธรรม  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล  ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  โดยยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง  จัดงบประมาณด้วยความเป็นธรรม  และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของ    พี่น้องประชาชนตำบลห้วยยาง
  2. จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

        3. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน

           3.1  ด้านคมนาคม

                 1)  จัดให้มีถนนสำหรับใช้ในการสัญจร ไป – มา  ในระหว่างหมู่บ้านหรือตำบลที่มีมาตรฐาน  เช่น  ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  ถนนลาดยาง

                 2)  จัดให้มีการก่อสร้างหรือซ่อมแซมถนนลูกรัง  เพื่อใช้เป็นเส้นนำผลิตผลทางการเกษตรออกจำหน่ายได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

                 3)  จัดให้มีการก่อสร้างและปรับปรุงถนนภายในหมู่บ้าน  ระหว่างหมู่บ้าน  หรือตำบลให้มีสภาพเหมาะแก่การสัญจรไปมาได้

                 4)  จัดให้มีการก่อสร้างหรือปรับปรุงระบบระบายน้ำในหมู่บ้านให้มีสภาพมั่นคงและแข็งแรงสามารถใช้ประโยชน์ได้

                 5)  จัดให้มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมขังในหมู่บ้านหรือตำบล

           3.2  ด้านแหล่งน้ำ

                 1)  ก่อสร้างและขยายเขตประปาในหมู่บ้านและปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาในหมู่บ้านที่มีปัญหาให้มีสภาพดียิ่งขึ้น  และตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาให้เหมาะสำหรับการใช้อุปโภค – บริโภคอย่างสม่ำเสมอ

                 2)  ส่งเสริมบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค  บริโภคตามรรมชาติ  เช่น  คลอง  หนอง  บึง  และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

                 3)  ขุดลอกคลอง  หนอง  บึง  เพื่อการประมง  และการเกษตร

           3.3  ด้านไฟฟ้าและแสงสว่าง

                 1)  ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าสำหรับประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง

                 2)  ดำเนินการขยายเขต  หรือซ่อมแซมไฟฟ้าทางสาธารณะ  เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                 3)  ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม  เพื่อมุ่งพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่มีความจำเป็นต้องได้รับบริการซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น

       4.  นโยบายด้านเศรษฐกิจ

           ภาคเกษตรกรรม

                 1)  สนับสนุนการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด  และศักยภาพของประชาชนในตำบล

                 2)  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อการเพิ่มผลผลิตและลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน และสามารถเพิ่มรายได้

                 3)  สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน  และปัจจัยการผลิต  แก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนซึ่งแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือตามระเบียบกำหนดให้อำนาจไว้

                 4)  สนับสนุนและพัฒนาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  เพื่อสนับสนุนนโยบาย  หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์

                 5)  สนับสนุนและพัฒนาและส่งเสริมระบบการตลาดกลางในชุมชน

 

 

 

         ภาคอุตสาหกรรม

                 1)  ส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือนทุกชุมชน  หมู่บ้าน  ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของตำบลให้ได้รับการพัฒนาและขยายกิจการได้มากขึ้น  เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้มากขึ้นด้วย  โดยการรวมกลุ่มบริหารจัดการตามความต้องการของกลุ่ม

                 2)  ร่วมมือกับกลุ่มแม่บ้านหรือกลุ่มอาชีพ  เพื่อหาลู่ทางในการพัฒนาอาชีพ  เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนอาชีพกันในแต่ละหมู่บ้าน โดยยึดหลักเครือข่ายอาชีพ

                 3)  ส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีศักยภาพ  รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพกลุ่มอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ  กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมครัวเรือน  ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าผลผลิต  และจัดหาตลาดรองรับ  ตามระเบียบกำหนดให้อำนาจไว้

                 4)  ส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่นควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  ในการเพิ่มมูลค่าและให้ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อการพัฒนาอาชีพ  รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวทฤษฎีใหม่  เกษตรอินทรีย์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                 5)  ส่งเสริมโครงการพัฒนาศึกษาดูงานของบุคลากรและกลุ่มอาชีพ

        5.  นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           1)  แก้ไขปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย  รณรงค์  ให้มีการจัดการขยะมูลฝอย  โดยการคัดแยกและกำจัดขยะอย่างถูกวิธี  และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก  เยาวชน  และประชาชน  สร้างคุณค่าจากขยะ  และการทิ้งขยะให้ถูกที่

           2)  ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน  โดยการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม

           3)  จัดให้มีการปรับปรุงแหล่งน้ำ  แหล่งทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุด  บำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรที่เสื่อมโทรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

           4)  จัดให้มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยภายในครัวเรือน  โดยนำวิธีการใช้ประโยชน์จากขยะเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน  เพื่อลดประมาณขยะ

           5)  ปรับภูมิทัศน์บริเวณถนน  และลำคลองที่สำคัญให้ดูสวยงาม

       6.  ด้านการเมืองและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

           1)  รณรงค์ให้ประชาชน  เชิดชูสถาบัน  ชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์

           2)  ส่งเสริมการรักษาความสงบเรียบร้อย  การป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  โดยการเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของ  อปพร.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  และเจ้าหน้าที่ตำรวจ

           3)  ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและตำบล  และประสานความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

           4)  ปรับปรุงพัฒนาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมต่อประชาชน  เพื่อสามารถนำมาบริการประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

           5)  เสริมสร้างบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

           6)  ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา  สนับสนุนการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย  เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนกับองค์การบริหารส่วนตำบล

           7)  ส่งเสริมให้หน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วม  ในการพัฒนาแบบบูรณาการ

           8)  ส่งเสริมบทบาทให้กับ  อปพร.  ในการทบทวนการปฏิบัติหน้าที่  การศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาสาธารณภัย

       7.  นโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน

           องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  แสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจทำอะไร อย่างไร รวมทั้งการตรวจสอบและการประเมิน ผลงานขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนา  การจัดซื้อ – จัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล  การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล การเสนอข้อบัญญัติต่างๆ

       8.  นโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

           1)  สนับสนุนและดำเนินการเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  โดยสนับสนุนให้ใช้หลักการป้องกันนำหน้าการปราบปราม  ผู้เสพต้องได้รับการรักษา  ผู้ค้าต้องได้รับการลงโทษโดยเด็ดขาด

           2)  จะเข้มงวดกับข้าราชการไม่ว่าจะเป็นข้าราชการการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ ให้รางวัลและการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

           3)  การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพยาเสพติด  โดยให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับ การบำบัด  และฟื้นฟูสภาพได้ทันที  โดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย  เพื่อให้ผู้เสพสามารถกลับเข้าสู่สังคม ได้อย่างปกติสุข

       9.  นโยบายด้านการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง

           1)  เพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพโดยการจัดฝึกอบรม  ทัศนศึกษาดูงาน  เพื่อได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  สามารถนำสิ่งที่พบเห็นมาปรับปรุงการทำงานได้  ตลอดจนการจัดการประชุมประจำเดือนของพนักงานและลูกจ้างของ อบต. เพื่อสร้างความเข้าใจในการบริหารงานให้บุคลากรของ อบต.ได้รับทราบ

           2)  พัฒนาการเงิน การคลัง  เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณต่าง ๆ  ที่ดำเนินการถูกต้อง และเรียบร้อย ตามระเบียบของ อบต.

           3)  พัฒนากองช่างให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและตรวจสอบได้